ข้อสอบปลายภาค
1 กฎหมายรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติ
(พ.ร.บ.) คือบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ
เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ
ก่อนประกาศใช้บังคับ
พระราชบัญญัติมีอยู่ชนิดเดียว แต่บัดนี้รัฐธรรมนูญฯ
ได้บัญญัติให้มีพระราชบัญญัติขึ้นอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ” ซึ่งรัฐธรรมนูญฯ
บังคับให้ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในกรณีบางเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้
เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541
การตราพระราชบัญญัตินั้นจะทำได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
และเมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
ก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
คำว่า พระราชบัญญัติ
เป็นชื่อเรียกกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้อนุญาต
สำหรับประเทศอื่นที่พระมหากษัตริย์ไม่ใช่ผู้อนุญาต (เช่นประธานาธิบดี)
จะเรียกว่า รัฐบัญญัติ
พระราชกฤษฎีกา
คือ บัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น
โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ
หรือพระราชกำหนดเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน[1] ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
ซึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 187 บัญญัติว่า “พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกา
โดยไม่ขัดต่อเทศบัญญัติ
คือ กฎหมายที่เทศบาลออกเพื่อใช้บังคับในเขตเทศบาลทั้งนี้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล
พศ.2496
ผู้เสนอร่างเทศบัญญัติ ได้แก่ นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
พศ.2542
ร่างเทศบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน จะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกเทศมนตรี
ผู้พิจารณา ได้แก่สภาเทศบาล
ผู้อนุมัติ ได้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด
ผู้ตรา ได้แก่ นายกเทศมนตรี
ในกรณีฉุกเฉินซึ่งจะเรียกประชุมสภาเทศบาลให้ทันท่วงทีมิได้ ให้คณะเทศมนตรีมีอำนาจออกเทศบัญญัติเพื่อพิจารณาอนุมัติในการประชุมสภา
เทศบาลคราวต่อไปถ้าสภาเทศบาลอนุมัติ เทศบัญญัติชั่วคราวนั้นก็เป็นเทศบัญญัติต่อไป ถ้าสภาเทศบาลไม่อนุมัติ
เทศบัญญัติชั่วคราวก็เป็นอันตกไปแต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่ได้เป็น ไประหว่างใช้เทศบัญญัติชั่วคราวนั้น
การประกาศใช้ ณ ที่ทำการสำนักงานเทศบาล
2 กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ที่ใช้ในการปกครองประเทศ
ปัจจุบันเป็นไปในลักษณะที่มีการพยายามปรับแก้ไขเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่กลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งมากขึ้น
ซึ่งเกิดจากปัญหาที่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกกันทางการเมือง และที่สำคัญคือ
เกิดจากปัญหาทางการเมืองที่มีมายาวนาน
ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้
ก็คือจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่และเป็นไปเพื่อรักษาสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเองเป็นใหญ่
หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญในการปกครองประเทศก็จะทำให้ประเทศของเราเกิดความขัดแย้ง
วุ่นวาย และไม่มีแนวทางในการปฏิบัติตนที่ถูกที่ควร
อันจะส่งผลไปสู่การเกิดความขัดแย้งต่างๆของคนในประเทศ
ทำให้เกิดความไม่สงบสุขและเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติในทุกๆด้าน
3 โดยส่วนตัวแล้วข้าพเจ้าคิดว่าไม่สมควรแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 ด้วยเหตุผลเพราะว่าในปัจจุบันนี้ประเทศไทยเกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก คิดหวังเอาแต่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าผลประโยชน์ของประเทศชาติ มุ่งหวังแต่อำนาจและเงินทอง โดยไม่สนใจสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งสังเกตได้จากที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีรัฐธรรมนูญมาตรา 112 นี้ก็ยังมีบุคคลที่มีพฤติกรรมหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่แล้ว หากมีการแก้ไขมาตราที่ 112 นี้อีกต่อไปประเทศไทยของเราก็อาจจะมีโอกาสสูญเสียระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งอันที่จริงแล้วเราจะเห็นได้ว่าคนไทยทุกคนย่อมมีสิทธิในการปกป้องและคุ้มครองตนเอง แต่เราคนไทยทุกคนก็ควรจะมีความเคารพและศรัทธาในพระองค์ไม่ใช่คอยหาช่องโหว่เพื่อล้มล้างพระองค์เช่นนี้ หากเราทุกคนยังไม่มีความมั่นใจในความรักและความหวังดีที่พระองค์มีต่อปวงชนชาวไทย ก็ให้หวนกลับมาคิดว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยของเรานั้นใช้ปกครองประเทศมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ แต่ก็ไม่เคยปรากฏว่าพระองค์จะเอาเปรียบประชาชนของพระองค์ในประเด็นไหน มีแต่ประชาชนของพระองค์ที่ไม่มีความจงรักภักดีต่อพระองค์เท่านั้นที่ต้องการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 นี้เพื่อให้เป็นช่องโหว่ในการกระทำผิดของตนเอง
3 โดยส่วนตัวแล้วข้าพเจ้าคิดว่าไม่สมควรแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 ด้วยเหตุผลเพราะว่าในปัจจุบันนี้ประเทศไทยเกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก คิดหวังเอาแต่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าผลประโยชน์ของประเทศชาติ มุ่งหวังแต่อำนาจและเงินทอง โดยไม่สนใจสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งสังเกตได้จากที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีรัฐธรรมนูญมาตรา 112 นี้ก็ยังมีบุคคลที่มีพฤติกรรมหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่แล้ว หากมีการแก้ไขมาตราที่ 112 นี้อีกต่อไปประเทศไทยของเราก็อาจจะมีโอกาสสูญเสียระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งอันที่จริงแล้วเราจะเห็นได้ว่าคนไทยทุกคนย่อมมีสิทธิในการปกป้องและคุ้มครองตนเอง แต่เราคนไทยทุกคนก็ควรจะมีความเคารพและศรัทธาในพระองค์ไม่ใช่คอยหาช่องโหว่เพื่อล้มล้างพระองค์เช่นนี้ หากเราทุกคนยังไม่มีความมั่นใจในความรักและความหวังดีที่พระองค์มีต่อปวงชนชาวไทย ก็ให้หวนกลับมาคิดว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยของเรานั้นใช้ปกครองประเทศมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ แต่ก็ไม่เคยปรากฏว่าพระองค์จะเอาเปรียบประชาชนของพระองค์ในประเด็นไหน มีแต่ประชาชนของพระองค์ที่ไม่มีความจงรักภักดีต่อพระองค์เท่านั้นที่ต้องการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 นี้เพื่อให้เป็นช่องโหว่ในการกระทำผิดของตนเอง
แต่ทั้งนี้การที่มีกลุ่มบุคคลออกมาแสดงถึงเจตนารมณ์ของตนเองในการเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 ดังกล่าวก็ไม่ใช่พฤติกรรมที่ผิด
เพราะพวกเขาย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเรียกร้องสิ่งที่พวกเขาต้องการ
แต่สิ่งที่พวกเขาเรียกร้องนั้นจะต้องผ่านการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในเหตุและผลของความเป็นไปได้
และมีการชี้แจงให้เหตุผลให้บุคคลเหล่านั้นเข้าใจโดยทั่วกัน
4 ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นคนไทยคนหนึ่ง
ข้าพเจ้ามองว่าปัญหานี้เป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่และมีความสำคัญมากต่อคนไทยทุกคน
เพราะปัญหานี้อาจจะทำให้ประเทศไทยของเราต้องสูญเสียดินแดนที่บรรพบุรุษของเราต้อสู้
และเสียสละเลือดเนื้อเข้าแลกไว้
เราทุกคนที่เป็นคนไทยจึงควรตระหนักถึงความดีงามและความกล้าหาญของบรรพบุรุษของเรา
ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราทุกคนเกิดความรู้สึกรักและหวงแหนในดินแดนที่เป็นของประเทศไทยของเรามากขึ้น
ถึงแม้ว่าดินแดนนั้นจะเป็นดินแดนที่น้อยนิดก็ตาม
สำหรับข้าพเจ้าก็มีวิธีการในการแก้ไขปัญหานี้ก็คือ
การอาศัยอำนาจแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ในการออกความคิดเห็นและแสดงให้เห็นถึงสิทธิและเสรีภาพในการออกความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ
โดยจัดให้มีการลงประชามติ ให้คนส่วนใหญ่ได้ลงชื่อเพื่อเป็นการรวบรวมกำลังและความคิดเห็น
เพื่อเป็นพลังในการต่อสู้เกี่ยวกับกรณีพิพาทดังกล่าว และที่สำคัญคือ
เพื่อรักษาดินแดนที่เป็นของประเมศไทยของเราเอาไว้นั่นเอง
5 เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะพระราชบัญญัติ ก็คือข้อกำหนด ระเบียบแบบแผนต่างๆที่เกี่ยวกับการศึกษาที่ถูกกำหนดขึ้นอย่างชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นการรักษาและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพทางด้านต่างๆของบุคคลหรือบุคลากรทางการศึกษา มีการกำหนดหลักในการปฏิบัติตนและระเบียบกฎเกณฑ์ในการปฏิบัติงานของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับการศึกษา ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าพระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ที่เป็นเครื่องชี้ทางปฏิบัติให้เกิดความสงบเรียบร้อยในบริหาร จัดการและดำเนินงานที่เกี่ยวกับการศึกษา เป็นบทบัญญัติที่ทุกคนในแวดวงการศึกษารับรู้และรับทราบโดยทั่วกัน และที่สำคัญคือ ทุกคนในแวดวงการศึกษาต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
5 เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะพระราชบัญญัติ ก็คือข้อกำหนด ระเบียบแบบแผนต่างๆที่เกี่ยวกับการศึกษาที่ถูกกำหนดขึ้นอย่างชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นการรักษาและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพทางด้านต่างๆของบุคคลหรือบุคลากรทางการศึกษา มีการกำหนดหลักในการปฏิบัติตนและระเบียบกฎเกณฑ์ในการปฏิบัติงานของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับการศึกษา ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าพระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ที่เป็นเครื่องชี้ทางปฏิบัติให้เกิดความสงบเรียบร้อยในบริหาร จัดการและดำเนินงานที่เกี่ยวกับการศึกษา เป็นบทบัญญัติที่ทุกคนในแวดวงการศึกษารับรู้และรับทราบโดยทั่วกัน และที่สำคัญคือ ทุกคนในแวดวงการศึกษาต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
6 การศึกษา คือ กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้การฝึก
การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ
การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม
การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
การศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
การศึกษาตลอดชีวิต คือ การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
การศึกษาในระบบ คือ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย
วิธีการศึกษา หลักสูตรระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล
ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
การศึกษานอกระบบ คือ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมายรูปแบบ
วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล
ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา
โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
การศึกษาตามอัธยาศัย คือ เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ
ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์สังคม สภาพแวดล้อม
สื่อหรือแหล่งความรู้อื่น ๆ
สถานศึกษา คือ สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัยสถาบัน มหาวิทยาลัย
หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ
สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษา คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ
คุณภาพ ที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง
และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ
การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
การประกันคุณภาพภายใน คือ
การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบ
คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน
โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง
หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
การประกันคุณภาพภายนอก คือ การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก
โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง
เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ผู้สอน คือ ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง
ๆ
ครู คือ
บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง
ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
คณาจารย์ คือ บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารการศึกษา คือ บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษา
นอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
ผู้บริหารสถานศึกษา คือ
บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหาร
สถานศึกษาแต่ละแห่ง ทั้งของรัฐและเอกชน
บุคลากรทางการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษารวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ
หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ
และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ
7 ในการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่กล่าวไว้ในมาตราที่ ๘ ที่ว่าด้วยหลักในการจัดการศึกษาที่สามารถกล่าวโดยสรุปได้ว่า การจัดการศึกษาจะเป็นเป็นการศึกษาที่จัดให้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนทุกคน โดยในการจัดการศึกษานั้นจะต้องมีการเปิดโอกาสให้ให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และจะต้องมีการพัฒนาสาระและกระบวนการในการจัดการเรียนและการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
7 ในการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่กล่าวไว้ในมาตราที่ ๘ ที่ว่าด้วยหลักในการจัดการศึกษาที่สามารถกล่าวโดยสรุปได้ว่า การจัดการศึกษาจะเป็นเป็นการศึกษาที่จัดให้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนทุกคน โดยในการจัดการศึกษานั้นจะต้องมีการเปิดโอกาสให้ให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และจะต้องมีการพัฒนาสาระและกระบวนการในการจัดการเรียนและการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
8 หากพิจารณาตามกฎหมาย หากมีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครูจะต้องถูกระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ขณะเดียวกันกรณีแบบนี้จะไม่ผิดกฎหมาย แต่จะต้องดำเนินการขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม
ตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้และจะต้องเป็นผู้ที่ไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ คือ
จะต้องเป็นผู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา
หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
และจะต้องไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
ไม่เป็นเป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
ไม่เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
9 หากต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามมาตรา
๔๔ ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม
ซึ่งสามารถกล่าวโดยสรุปได้ คือเป็นผู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด และที่สำคัญ
คือจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ คือ
เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
หรือเคยต้องโทษจำคุกในคดีที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
10 ในความคิดของข้าพเจ้านั้นการสอนโดยใช้ Weblog นั้นเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนที่มีประโยชน์มากมายนอกจากนั้นคือยังเป็นการแชร์ความรู้ต่อๆกันอีกด้วย
และในการเรียนการสอนในรายวิชานี้ข้าพเจ้ามีความสุขมากเพราะข้าพเจ้าชอบเรียนแบบที่ไม่ต้องมีอาจารย์มาคอยสอนแบบที่เป็นอยู่เหมือนปัจจุบันนี้วิชานี้เป็นวิชาที่ข้าพเจ้าได้ทำงานอย่างมีอิสระมาก
ถ้าในความคิดของข้าพเจ้าข้าพเจ้าจะให้เกรด A
ค่ะ หากคิดดูแล้วข้าพเจ้าควรได้เกรดอะไรก็ต้องมามองที่ผลงานของเรา
ก็แล้วแต่ความสมควรของอาจารย์ผู้สอนว่าจะให้ข้าพเจ้าเกรดอะไรนะค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น