วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่2


กิจกรรมที่ 2

1 ประเด็นที่น่าสนใจคือ หมวดที่ 1 มาตราที่ 4 และ 5 คือ มาตราที่ 4 ก็คือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง และมาตราที่ 5ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญเสมอ

 2 ตรงกับรัฐธรรมนูญมาตราที่ 49 บุคคลทุกคนย่อมได้รับการศึกษาไม่ต่ำกว่า12 ปี

 3 ประเด็นในมาตราที่ ๙๐ ที่ว่า ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติ จะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมจากใคร(รัฐสภา) ประเด็นมาตราที่ ๙๓ ที่ว่า สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวนกี่คน (สี่ร้อยแปดสิบคน) ประเด็นมาตราที่ ๙๙ ที่ว่า บุคคลผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องมีสัญชาติไทย แต่บุคคลที่มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ จะต้องได้รับสัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่ากี่ปี (๕ ปี)

4 เราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาราจักรไทย เพราะรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่จะทำให้ประชาชนชาวไทยได้เรียนรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญไว้บ้าง แต่ไม่ครบทุกข้อก็ตามบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันในการที่จะพัฒนาประเทศ รักษาไว้ซึ่งความเป็นเอกราชและความมั่นคงของชาติ รวมถึงการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และที่สำคัญคือ หากเราคนไทยทุกคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญดังกล่าวแล้ว จะทำให้เราทุกคนในสังคมไทยสามารถดำเนินชีวิตประจำวันไปในทางที่ถูกที่ควร และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมร่วมกันอย่างสงบเรียบร้อย เพราะเรามีรัฐธรรมนูญเป็นแนวทางในการปฏิบัติตน และสิ่งสำคัญก็คือรัฐธรรมนูญของเราก็ไม่ควรที่จะเปลี่ยนบ่อยครั้งจะทำให้ไม่น่าเชื่อถือ

5 จากการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีเพราะจะทำให้คนไทยสับสน และมีความคิดที่แตกแยกเช่นในปัจจุบันก็มีให้เห็นว่ามีปัญหามากมายในการแก้รัฐธรรมนูญในแต่ละมีคนตายมากมาย แต่ถ้าแก้รัฐธรรมนูญก็ให้นึกถึงประชาชนให้มาก เพราะโลกของเราในปัจจุบันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น หากเป็นการแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัยและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปและเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่หรือของประชาชนชาวไทยโดยแท้จริงแล้ว ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่รัฐบาลพึงกระทำ แต่หากเป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อการกระทำอันใดที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนชาวไทยแล้ว ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำ

และจากการที่รัฐบาลแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว มีประชาชนบางกลุ่มออกมาคัดค้านนั้นเป็นเพราะว่า ประชาชนเหล่านี้มองเห็นถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริง หรือแอบแฝงจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว หรือกล่าวอีกในหนึ่งก็คือ ประชาชนที่ออกมาคัดค้านรัฐธรรมนูญนั้นอาจจะเป็นกลุ่มของประชาชนที่เสียผลประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลดังกล่าว

สำหรับตัวข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าคิดว่าสมควรที่จะต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ ควรจะมีการตรวจสอบและพิจารณาให้ถี่ถ้วนเพื่อมองหาช่องโหว่ที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะทำให้เป็นปัญหาอย่างมากต่อประเทศชาติ หากมีประชาชนคนไทยที่มองเห็นช่องโหว่ดังกล่าวและกระทำการอันใดที่ไม่ดีงามจากช่องโหว่นี้

6 สำหรับตัวข้าพเจ้าคิดว่า การปกครองของประเทศไทยในปัจจุบันนี้ยังขาดความสมดุลกันของอำนาจทั้ง ๓ อำนาจดังกล่าว ซึ่งเราจะสังเกตได้จากการเกิดปัญหาความขัดแย้งต่างๆมากมายดังเช่นที่ผ่านมา มีการทะเลาะกัน แก่งแย่งชิงดี แสวงหาผลประโยชน์ โดยแทบจะมองไม่เห็นว่าใคร พรรคการเมืองไหนกันแน่ที่หวังดีและเห็นแก่ผลประโยชน์ของประชาชนชาวไทย และจะนำพาประเทศไทยของเราให้ผ่านพ้นปัญหาต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ได้ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น การปกครองประเทศจะอาศัยเฉพาะอำนาจใดอำนาจหนึ่งไม่ได้ แต่ทั้ง ๓ อำนาจจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันในการที่จะวางแผนพัฒนาประเทศและนำพาประเทศให้ดำเนินไปได้อย่างมีเสถียรภาพและจากที่เห็นมาหลายปีแล้วประเทศของเราก็ยังไม่พัฒนาให้ก้าวหน้า มีแต่ปัญหามากมายเพราะการปกครองของเรายังด้อยมาก และทุกๆสิ่งยังตามประเทศเพื่อนบ้านอยู่แม้แต่การศึกษาก็ตามยังช้ากว่าประเทศอื่นๆ ข้าพเจ้าคิดว่าประเทศเราคิดแต่ก็ไม่กล้าที่จะลงทุนเพราะกลัวที่จะเสีย

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1


ให้นักศึกษาค้นหาคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหาให้มากที่สุดแล้วเขียนลงในกิจกรรมที่ 1 ของนักศึกษาอย่างน้อยคนละ 10 ชื่อ

       ศาสตราจารย์หลวงจำรูญเนติศาสตร์ อธิบายว่า "กฎหมาย ได้แก่ กฎข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติ ซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศได้บัญญัติขึ้นและบังคับให้ผู้ที่อยู่ในสังกัดของประเทศนั้นถือปฏิบัติตาม"

       จอห์น ออสติน ปรัชญาเมธีชาวอังกฤษอธิบายว่า "กฏหมาย คือ คำสั่ง คำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งใช้บังคับบุคคลทั้งหลาย ถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติตามโดยปกติแล้ว ผู้นั้นต้องรับโทษ"

       กฎหมายในแง่เนื้อความหรือเนื้อหา อาจกล่าวได้ว่ากฎหมายเป็นกฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศเพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐกฎหมายในแง่เนื้อหามีองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้มีสภาพแตกต่างจากศีลธรรมก็คือ กฎหมายจะต้องเป็นคำสั่งของรัฐาธิปัตย์ที่มีสภาพบังคับให้ต้องกระทำตามกฎหมาย

       กฎหมายในแง่วิธีการบัญญัติ กฎหมายที่จะถูกยอมรับเป็นกฎหมายเมื่อพิจารณาจากวิธีนี้ก็คือ ก็คือกฎหมายซึ่งได้ถูกบัญญัติไว้ตามขั้นตอนที่กำหนดเพื่อให้มีสภาพเป็นกฎหมาย จะเห็นได้ว่าหากพิจารณากฎหมายแต่ในแง่เนื้อความ กฎหมายเช่นพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีก็อาจจะไม่ใช่กฎหมาย เราจึงต้องแบ่งการพิจารณากฎหมายออกเป็นสองประการ

        นายจ้างตัวจริง หมายถึง บุคคลที่ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ ซึ่งนายจ้างตัวจริง จะเป็นบุคคลธรรมดา เช่น นายสมชาย นางสาวสมหญิง หรือนิติบุคคลเช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัท จำกัด หรือเป็นองค์การที่กฎหมายกำหนดให้เป็นนิติบุคคลก็ได้

        นายจ้างตัวแทน หมายถึง ผู้มีอำนาจกระทำแทนนิติบุคคลกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล เช่นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในหนังสือบริคณฑ์สนธิของบริษัทจำกัดแห่งนั้น ซึ่งมักเรียกกันว่า กรรมการผู้จัดการเป็นต้น

        นายจ้างรับมอบ หมายถึง ผู้ซึ่งได้รับมอบให้ทำงานแทนนายจ้างตัวจริงได้หรือได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้างตัวแทน เช่น บริษัทจำกัด มีนายสมชายเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท นายสมชายต้องเดินทางบ่อยๆ จึงมอบหมายให้นางสาวสมหญิงน้องสาวทำงานแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลในบริษัทดังกล่าว กิจการที่นางสมหญิงกระทำไปนั้นแม้นางสาวสมหญิงจะไม่มีตำแหน่งใดๆ ในบริษัทนั้นเลยก็ต้องถือว่านางสาวเป็นนายจ้างของลูกจ้างในบริษัทนั้นด้วยในฐานะเป็นนายจ้างรับมอบ

        นายจ้างตัวจริง หมายถึง บุคคลที่ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ ซึ่งนายจ้างตัวจริง จะเป็นบุคคลธรรมดา เช่น นายสมชาย นางสาวสมหญิง หรือนิติบุคคลเช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัท จำกัด หรือเป็นองค์การที่กฎหมายกำหนดให้เป็นนิติบุคคลก็ได้

        นายจ้างตัวแทน หมายถึง ผู้มีอำนาจกระทำแทนนิติบุคคลกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล เช่นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในหนังสือบริคณฑ์สนธิของบริษัทจำกัดแห่งนั้น ซึ่งมักเรียกกันว่า กรรมการผู้จัดการเป็นต้น

       นายจ้างรับมอบ หมายถึง ผู้ซึ่งได้รับมอบให้ทำงานแทนนายจ้างตัวจริงได้หรือได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้างตัวแทน เช่น บริษัทจำกัด มีนายสมชายเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท นายสมชายต้องเดินทางบ่อยๆ จึงมอบหมายให้นางสาวสมหญิงน้องสาวทำงานแทนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลในบริษัทดังกล่าว กิจการที่นางสมหญิงกระทำไปนั้นแม้นางสาวสมหญิงจะไม่มีตำแหน่งใดๆ ในบริษัทนั้นเลยก็ต้องถือว่านางสาวเป็นนายจ้างของลูกจ้างในบริษัทนั้นด้วยในฐานะเป็นนายจ้างรับมอบ

       นายจ้างรับถือ หมายถึง ผู้ประกอบกิจการที่มีการจ้างเหมาค่าแรง ผู้ประกอบกิจการดังกล่าวนอกจากจะถือว่าเป็นนายจ้างของลูกจ้างของตนเองแล้วยังเป็นนายจ้างของลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรงที่มาทำงานในกิจการของตนด้วย

(1) โดยทุจริต หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น

(2) ทางสาธารณ หมายความว่า ทางบกหรือทางน้ำสำหรับ ประชาชนใช้ในการจราจร และให้หมายความรวมถึงทางรถไฟและทางรถราง ที่มีรถเดิน สำหรับประชาชนโดยสารด้วย

(3) สาธารณสถาน หมายความว่า สถานที่ใด ๆ ซึ่งประชาชนมี ความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้

(4) เคหสถาน หมายความว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น เรือน เรือ หรือแพ ซึ้งคนอยู่อาศัย และให้ความรวมถึงบริเวณ ของที่ซึ่งให้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย จะมีรั้วหรือไม่มีก็ตาม (5) อาวุธ หมายความรวมถึงสิ่งซึ่งไม่เป็นอาวุธโดยสภาพ แต่ ซึ่งได้ใช้หรือเจตนาจะใช้ประทุษร้ายร่างกายถึงอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ

(6)ใช้กำลังประทุษร้าย หมายความว่า ทำการประทุษร้ายแก่ กายหรือจิตใจของบุคคล ไม่ว่าจะทำด้วยใช้แรงกายภาพหรือด้วยวิธีอื่นใด และ ให้หมายความรวมถึงการกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดอยู่ใน ภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ไม่ว่าจะโดยใช้ยาทำให้มึนเมา สะกดจิต หรือใช้ วิธีอื่นใดอันคล้ายคลึงกัน

(7) เอกสาร หมายความว่า กระดาษหรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้ทำให้ ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น จะเป็นโดย วิธีพิมพ์ ถ่ายภาพ หรือวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น

(8) เอกสารราชการ หมายความว่า เอกสารซึ่งเจ้าพนักงาน ได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ และให้หมายความรวมถึงสำเนาเอกสารนั้น ๆ ที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ด้วย

(9) เอกสารสิทธิ หมายความว่า เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่ง การก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ

(10) ลายมือชื่อ หมายความรวมถึงลายพิมพ์นิ้วมือและเครื่องหมาย ซึ่งบุคคลลงไว้แทนลายมือชื่อของตน

(11) กลางคืน หมายความว่า เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกและ พระอาทิตย์ขึ้น

(12) คุมขัง หมายความว่า คุมตัว ควบคุม ขัง กักขังหรือจำคุก

(13) ค่าไถ่ หมายความว่า ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่เรียกเอา หรือให้เพื่อแลกเปลี่ยนเสรีภาพของผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือผู้ถูก กักขัง

 

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แนะนำตนเอง


นางสาวนพรัตน์ สุขราช ชื่อเล่น น้องส้มค่ะ อายุ 22 ปี

วันเกิด 23 เดือนเมษายน พ.ศ. 2533

ที่อยู่ 32 หมู่ 10 ตำบลหลักช้าง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80250

ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ รหัสนักศึกษา 5211114007

ประวัติการศึกษา

จบจากชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนวัดจันดี

จบจากชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก

  ปรัชญาของตนเอง

ต้องทำก่อนแล้วจะรู่ผล ถึงผลจะออกมาดีหรือไหมอยู่ที่ตัวทำ